ning

ning

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ ROM



Memory หรือหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้ คือ
1.ROM (Read Only Memory)
2.RAM (Random Access Memory)



รูปที่1 ไดอะแกรมแบ่งชนิดของ ROM


รูปที่2 ROM BIOS,ROM Keyboard
ROM เป็นไอซีประเภทหนึ่ง ที่มีความสามารถในการใช้อ่านได้เพียงอย่างเดียว ไม่มีความสามารถในการเขียนข้อมูลใด ๆ ลงไปได้ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหน่วยความจำถาวรก็ไม่ผิดครับ ROM ไม่จำเป็นต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้ามาเลี้ยงตัวมัน ก็จะสามารถจัดเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา
รอมชนิดต่าง ๆ
ROM :Read Only Memory เป็นต้นแบบของหน่วยความจำประเภทนี้ มีคุณสมบัติที่อ่านได้อย่างเดียว การเขียนโปรแกรมเข้าไปในตัวรอมนี้จะต้องทำจากโรงงานที่ผลิตโดยตรงข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS

PROM : Programmable Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทน ROM เปิดสิทธิให้แก่ผู้ใช้ ให้ทำการติดตั้งโปรแกรมหรือเขียนข้อมูลได้ด้วยตนเอง แต่การทำเช่นนี้จะกระทำได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และจะไม่สามารถลบหรือเปลี่ยนแปลงได้อีกข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
EPROM : Erasable Programmable Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่มีความสามารถที่ดีกว่า PROM โดยสามารถที่จะโปรแกรมข้อมูลลงไป และเปลี่ยนแปลงหรือลบก็สามารถทำได้ ด้วยการใช้แสงอุลตร้าไวโอเลตส่องไปที่กระจกบนตัว EPROM ทำให้ว่างเปล่า จากนั้นจึงไปเข้าเครื่องทำการโปรแกรมเข้าไปใหม่อีกได้ ข้อควรระวังก็คือเมื่อบันทึกโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องหาวัสดุทึบแสงมาปิดทับกระจกบนตัวอีพรอม เพื่อป้องกันการลบล้าง (แสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรตเซนต์ ก็สามารถทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมใน EPROM สูญหายได้เช่นกัน) ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ในEPROM ออกก่อน แล้วค่อยเข้าโปรแกรมไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 510 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
EEPROM : Electrical EPROM เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียวที่มีคุณสมบัติคล้าย EPROM คือสามารถเขียนข้อมูลได้ลงไปได้ และสามารถลบข้อมูลได้หากไม่ต้องการ แต่สิ่งที่แตกต่างคือวิธีการลบข้อมูล EEPROM จะใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลแทนการใช้แสงอุลตร้าไวโอเลต ทำให้การทำงานเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาแบบการลบล้างด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลต.เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ แสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส 2 ทาง ดังนั้นเอาต์พุตของ ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถานะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence)
ลักษณะโครงสร้างภายในของข้อมูลในหน่วยความจำ สามารถดูได้จาก Data Sheet ของ ROM นั้นๆ เช่น ROM ที่ระบุเป็น 1024 8 ,2048 8 หรือ 4096 8 ตัวเลขชุดแรก (1024 ,2048 หรือ 4096) จะบอกจำนวนตำแหน่ง ที่ใช้เก็บข้อมูลภายใน ส่วนตัวเลขชุดที่สอง (8) เป็นตัวบอกจำนวนบิตของข้อมูลแบบขนาน ที่อ่านจาก ROM ในการกำหนดจำนวนเส้นของบัสแอดเดรสที่ใช้กับ ROM เราสามารถรู้ได้ด้วยสูตร
FEPROM : Flash EPROM เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียวที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ EEPROM คือสามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ด้วยการใช้ไฟฟ้า แต่สิ่งที่พิเศษกว่าของFEPROM คือโครงสร้างภายในแบบแฟลช (Flash) ทำให้การลบและเขียนข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้น
ROM BIOS : ROM Basic Input / Output System เป็นไอซีชนิดรอม ที่บรรจุโปรแกรมพื้นฐานเพื่อการควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการตรวจสอบและจัดลำดับการทำงานของอุปกรณ์ ROM BIOS จะมีหน้าที่เริ่มตั้งแต่เปิดเครื่อง จะทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ และแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รับทราบ โดยใช้เสียงและแสดงบนหน้าจอ (ถ้าจอภาพไม่เสีย) หลังจากนั้นจะทำการเตรียมค่าต่างๆ ที่จำเป็นและ จัดความพร้อมให้กับหน่วยความจำประเภทแรม เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนต่าง ๆ รอมไบออสจะทำการอ่านโปรแกรมจากแผ่นดิสก์ แล้วโอนการทำงานให้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้ แต่ ROM BIOS ยังคงมีความสำคัญ คือเป็นที่เก็บโปรแกรมสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะขาดไม่ได้ ROM BIOS จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และหลายยี่ห้อ แต่หน้าที่การทำงานจะคล้ายคลึงกัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของ RAM


หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย
ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น 
 DRAM คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Me
Fast Page DRAM ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72 ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)
SDRAM เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด
SDRAM II (DDR)
DDR (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 M
RDRAM
RDRAM หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์
RAM
PC100   SDRAM    ซึ่งทำงานได้ที่ความถี่ 100 MHz
PC133   SDRAM   ซึ่งทำงานได้ที่ความถี่ 133 MHz ซึ่งใช้งานร่วมกับความเร็วของบัสที่ต่ำกว่าคือ 100 MHz ได้
PC2100  DDR  SDRAM มีอัตราความเร็วในการ รับส่งข้อมูล 2.1 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 266 MHz
PC2700  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 2.7  GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 333 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-333
PC3200  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 3.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 400 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-400
PC4200  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 4.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 533 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-533
PC2-4200  DDR2 SDRAM มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล  4.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 533 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR2-533
PC2-5300  DDR2 SDRAM มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล  5.3 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 667 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR2-667
TiP : ถ้าแรมสกปรกให้เอายางลบนุ่มๆ มาขัดตรงขอบสีทองเบาๆ เพื่อให้หน้าสัมผัสของตัวแรมกับหน้าสัมผัสของสล็อตสัมผัสกันได้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Chrome

Google Chrome คือเว็บเบราว์เซอร์ที่สร้างโดยกูเกิลซึ่งซึ่งตอนนี้ก็มาถึงเวอชั่น 4 แล้ว ด้วยการใช้งานที่ง่าย ฟรี และติดตั้งได้อย่างรวดเร็วในไม่กี่วินาที ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย

- ช่องแถบสำหรับใส่ที่อยู่เว็บก็ใช้เป็นช่องค้นหาได้ด้วย
- สามารถตั้งเลือกค่าให้บุ๊คมาร์คในแต่ละเครื่องปรับตรงกันได้โดยอัตโนมัติ
- สามารถลากแท็บออกจากเบราว์เซอร์เพื่อสร้างหน้าต่างใหม่ และรวมหลายๆ แท็บไว้ในหน้าต่างเดียว
- แท็บทุกแท็บที่กำลังใช้ ทำงานอย่างอิสระในเบราว์เซอร์
- มีโหมดไม่ระบุตัวตนสำหรับการเข้าชมแบบส่วนตัว
- มีส่วนขยายให้เลือกติดตั้งเพิ่มลงไปตามต้องการ



คุณลักษณะต่างๆ ของ Google Chrome

Chrome เว็บสโตร์
Chrome เว็บสโตร์เป็นร้านค้าออนไลน์ที่คุณจะได้พบกับแอปพลิเคชัน ส่วนขยาย และธีมมากมายจำนวนนับพันสำหรับ Google Chrome
เมื่อเริ่มสำรวจร้านค้า ให้ไปที่ chrome.google.com/webstore หรือคลิกไอคอนร้านค้าในหน้าแท็บใหม่ของ Chrome



การแปลในเบราว์เซอร์

Chrome เป็นเบราว์เซอร์แรกที่รวมเอาการแปลจากคอมพิวเตอร์เข้าไว้ในเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องมีปลั๊กอินหรือส่วนขยายเพิ่มเติม
เมื่อภาษาบนหน้าเว็บไม่ตรงกับการตั้งค่าภาษาที่กำหนดไว้ในเบราว์เซอร์ Chrome จะถามโดยอัตโนมัติว่าต้องการให้แปลหน้าเว็บเป็นภาษาที่คุณตั้งค่าไว้หรือไม่
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่าภาษาใน Chrome หรือการใช้คุณลักษณะการแปลใน Chrome


ข้อดี

1. ขนาดไฟล์น้อย
2. รวดเร็ว
3. Interface สวยงาม
4. ถ่าย bookmarks จาก internet explorer และ Firefox ได้
5. หน้าต่างดาวน์โหลด อยู่ด้านล่างทำให้ไม่เกะกะเหมือน Firefox ที่เด้งขึ้นมาอีกหน้าต่างนึง
6. มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้เล่นเพียบ
7. ช่องค้นหาจาก Google สะดวกรวดเร็ว เพราะใส่ได้ทาง Address Bar เลย
8. แทบ Status bar auto hide ทำให้ไม่รกตา และเปลืองพื้นที่ดี

9. หน้าแรก มี เว็บที่เราเข้าบ่อยสุดให้ดู เป็น interface อย่างงาม สามารถค้นหาประวัติการเข้าเว็บของเราได้อย่างละเอียด จาก แถบด้านขวามือ (การค้นหา) และยังมี Bookmarks ล่าสุดบอกอีกด้วย


ข้อเสีย

1. ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์เช่น เวลาพิมพ์คำที่มีสระบน สระหน้า แล้วลบ เช่น กำลัง, ไป, ขึ้นรถ เป็นต้น เวลาลบจะหายไปทั้งหมด
2. ยังไม่มีตัวอ่าน Feed ในตัว เวลาคลิกไป Atom หรือ Feed จะเกิดโค้ดอันเลวร้ายออกมา
3. ไม่สามารถคลิกขวา Refresh ได้ ประหลาดมาก ต้องไปกดปุ่ม Refresh ข้างบน หรือไม่ก็ F5
4. ซูมทั้งหน้าไม่ได้ ได้แต่ Text
5. ยังไม่มี Plugin หรือ Theme ให้โหลด
6. ไม่ Support 100% กับ Wysiwyg Editor ในท้องตลาดบางตัว
7. สังเกตว่า หาก Tab ไหนทำ Flash ค้าง แล้วจะทำให้ Flash ในทุก Tab ค้างไปด้วย
8. เปิดใช้ java applet ไม่ได้ดีเท่าที่ควร
9. มีปัญหาเรื่อง sign in เข้าเว็บแล้วไม่ค่อยผ่านได้ดีเท่าที่ควร
10. จุดที่ Webkit ยังแพ้ Firefox 3 อย่างเห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องการขยายเว็บที่ขยายแต่ตัวอักษร

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคเกี่​ยวกับการตกแต่งภาพ

ตกแต่งภาพแนว Art ด้วยตัวหนังสือ โดยใช้โปรแกรม Photoshop



1.เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมา จากนั้นก็ Open File รูปที่ต้องการจะตกแต่งภาพเข้ามาในโปรแกรม Photoshop ดังภาพที่ 1

จากนั้นให้ทำการเพิ่ม Layer ขึ้นมาอีก 1 Layer โดยการคลิก add new layer ตามภาพในตำแหน่งที่ 1 เมื่อได้เลเยอร์ใหม่ขึ้นมาแล้ว ให้ทำการเทสีให้เลเยอร์นี้เป็นสีดำ



2.เราจะพิมพ์ข้อความลงไปให้เต็มทั้งชิ้นงาน ทำได้โดยคลิกที่เครื่องมือ Type Tool จาก Tool Box ด้านซ้ายมือ จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ตำแหน่งมุมบนซ้ายของชิ้นงาน คลิกเมาส์ค้างและลากเมาส์ไปยังมุมล่างขวาของชิ้นงาน แล้วปล่อยเมาส์ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นมีการสร้างกล่องข้อความบนชิ้นงาน จากนั้นให้เราคัดลอกข้อความ หรือจะพิมพ์ขึ้นมาเลยก็ได้ ให้เต็มทั้งชิ้นงาน พร้อมปรับขนาดตัวอักษรให้มีขนาดเล็ก ดังภาพหมายเลข 2



3.เมื่อถึงขั้นตอนนี้ สังเกตที่ Layer Palette ด้านขวามือ เราจะมี Layer ทั้งหมด 3 เลเยอร์ คือ รูปภาพ พื้นสีดำ และเลเยอร์ข้อความ ในขั้นตอนนี้เราจะมาสร้าง Layer Mask ให้กับเลเยอร์ข้อความ ซึ่งสามารถทำได้โดยคลิกที่ add layer mask ตามภาพในตำแหน่งที่ 3 ซึ่งจะทำให้มี layer mask สีขาวถูกสร้างขึ้นตามภาพที่ 3



4.ให้ทำการคลิกที่ Layer แรก (เลเยอร์รูปภาพ) จากนั้นกด Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + A เพื่อทำการเลือกพื้นที่ทั้งหมด (จะใช้คำสั่ง Slect-->All จากเมนูบาร์ก็ได้) จากนั้นใช้ Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + C เพื่อทำการคัดลอกข้อมูลของเลเยอร์


5.ให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์ที่ตำแหน่ง Layer Mask (Layer บนสุึด คลิกให้ถูกตรงที่เป็น Mask) จากนั้นใช้ Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + V เพื่อวางภาพที่คัดลอกจากเลเยอร์แรกลงบน Mask ซึ่งจะทำให้ Mask เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมสีขาว เป็นรูปภาพแทน พร้อมรูปชิ้นงานที่กำลังตกแต่งเปลี่ยนจากภาพสีเป็นภาพขาวดำ ดังภาพในตำแหน่งที่ 4

เมื่อได้ตามนี้แล้ว ขั้นตอนสุดท้าย ก็แค่คลิกเมาส์ที่ Layer ที่ 2 เลเยอร์ที่เป็นพื้นสีดำ ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ตามภาพสุดท้าย  ตามที่เราต้องการ



อ้างอิง http://www.thainextstep.com/photoshop/photoshop_article.php?articlecat=2&articleid=137

โปรเซสเซอร์

โปรเซสเซอร์ 

ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ”ไปป์ไลน์” (Pipeline)  ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้ โดยเอ็กซิคิวต์ ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clockcycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า “สเกลลาร์” (Scalar)ปี 1993 ได้เปิดตัวซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัวทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ 2 คำสั่งใน 1 สัญญาณนาฬิกาเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า “ซุปเปอร์สเกลลาร์” (Superscalar)

 

องค์ประกอบซีพียู

ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline

  - ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง หรือ Instruction Fetch ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับคำสั่งใหม่ ๆ ทั้งจากหน่วยความจำหลัก
หรือจาก Instruction Cache เข้ามา
  - ภาคถอดรหัสคำสั่ง หรือ Instruction Decode ส่วนนี้จะทำหน้าที่แยกแยะคำสั่งต่าง ๆ ของ  CISC
 - ภาครับข้อมูล หรือ Get Operands  ส่วนนี้ทำหน้าที่รับข้อมูลที่จะใช้ในการเอ็กซิคิวต์เข้ามาเก็บ ไว้
 - ภาคเอ็กซิคิวต์ หรือ Execute ส่วนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำการเอ็กวิคิวต์ตามคำสั่งและโอเปอแรนด์
 ที่ได้รับมา
 - ภาคเขียนผลลัพธ์ หรือ Write Result เมื่อทำการเอ็กซิคิวต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้
ก็จะนำไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ หรือในแคช   
โครงส้รางของระบบคอมพิวเตอร์(COMPUTERSYSTEMSTRUCTURE)
 เราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
 
การจัดการหน่วยความจำของ OSนั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ
 

   1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy)
 
    2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy)
 
    3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy)  

การจัดการโปรเซสเซอร์  
       โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์
อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์
ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก   โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์ ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายาม   ให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
อ้างอิง: www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC3401/present/ca_ch06.ppt

 

 

เว็ปไซต์ต่างประเทศ ยอดนิยม



-TechCrunch

จาก blogger คนธรรมดา กลายไปเป็นเจ้าพ่อข่าว Web 2.0 ของโลกนี้ไปเสียแล้ว ด้วยการรายงานข้อมูลข่าวอย่างเผ็ดร้อน ถึงกึ๋น และข้อมูล Insider สุดๆ ถ้าท่านตาม feed ที่นี่รับรองไม่พลาดข่าวสำคัญๆแน่นอน ใครสนใจดู Trend ของ Web ในโลกนี้ ต้องไม่พลาดที่นี่



ข่าวของออกใหม่ Gadget เด็ดๆ ที่นี่ทำเป็นสกู๊ปติดตามกันยาวๆ จะว่าไปเว็บนี้ก็คล้ายกับ Engadget เลือกติดตามอันได้อันนึงก็ได้ แล้วแต่ชอบสไตล์การเขียนข่าวแบบไหน

-Engadget ข่าวของออกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอะไร ที่นี่เร็วที่สุด พร้อมรายงานสดด้วยบางที ที่แน่ๆสาวก Apple ชอบตาม Live blog ที่นี่



-The Register ข้ามฝั่งไปที่หัวเว็บฝั่งยุโรปบ้าง เพื่อข่าวไอทีในอีกซีกโลกนึงที่รวดเร็วทันใจจาก UK


-techmeme สุดท้าย ถ้าไม่อยากรับข่าวที่มีมากหมายจนล้นหัว หรือดูไปก็มองเห็นแต่ Unread เต็มหน้า feed reader ผมขอแนะนำที่นี่เลย เพราะเขาจะรวมข่าวแต่ละอย่างไว้เป็นหัวเรื่องเดียว เหมือนสรุปรวมข่าวหลายๆที่แล้วเลือกเพียงหัวเดียวที่ไวที่สุด ดีที่สุด ไว้ในหน้าเดียว


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ของคนไทย ยอดนิยม

1. เว็บไซท์หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกีฬาต่าง ๆ

   http://www.siamsport.co.th/

    



2. เว็บไซท์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เกาะติดทุกสถานการณ์ข่าว ทันทุกเหตุการณ์ อ่านข่าวย้อนหลังได้      มากกว่า 7 วัน


3. เว็บไซท์มติชนกรุ๊ป หนังสือพิมพ์คุณภาพ เสนอข่าวทุกประเภททันเหตุการณ์



4. เว็บไซท์ศูนย์รวมความบันเทิงทางด้านเสียงเพลงบนเน็ต สามารถฟังเพลงได้ตามต้องการ



5.เว็บไซท์ตลาดซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าทุกชนิดบนอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ค้นหาง่าย



     
  
     
                                      




                                           

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1) อยากทราบว่า คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถเกิดจากสาเหตุใดบ้าง จงอธิบายพร้อมเหตุผล


  คอมพิวเตอร์สามารถทำงานผิดพลาดได้ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับในขณะที่เรากำลังพิมพ์งานในโปรแกรม
microsoft word  ในการกู้ข้อมูลของเอกสารในบางครั้งเราอาจประสบปัญหาการกู้ข้อมูลกลับคืนมาไม่ครบ
ทำให้เสียเวลาในการพิมพ์ข้อมูลขึ้นมาใหม่อีกครั้ง....นี่คือการทำงานผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ที่เคยประสบมา...

2)ให้นักศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้

- วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
     สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า “ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
     ความพยายามที่จะผลิตเครื่องมือนับเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองที่จะต้องคิดคำนวณจำนวนเลขต่าง ๆ มีอยู่ตลอดเวลา จากเครื่องที่ใช้มือ มาใช้เครื่องจักร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้
ค.ศ. 1617 : จอห์น เนเปียร์ (John Nepier) ชาวสก็อต ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข “เนเปียร์ส โบนส์” (Nepier’s Bones)
ค.ศ. 1632 : วิลเลี่ยม ออตเทรด (William Oughtred) ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rules) เพื่อใช้ในทางดาราศาสตร์ ถือเป็น คอมพิวเตอร์อนาลอก เครื่องแรกของโลก
      ค.ศ. 1642 : เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal: 1623 - 1662) ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุนคือมีฟันเฟือง 8 ตัว เมื่อเฟืองตัวหนึ่งนับครบ 10 เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไปอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งหลักการนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาเครื่องคำนวณ และถือว่า เครื่องบวกเลข (Adding Machine) ของปาสคาลเป็น เครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
      ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน ไลบนิซเป็นผู้ค้นพบจำนวนเลขฐานสอง (Binary Number) ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ เครื่องคิดเลขที่ไลบนิซสร้างขึ้น เรียกว่า Leibniz Wheel สามารถ บวก ลบ คูณ หาร ได้
     ค.ศ. 1804 : โจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph Marie Jacquard : 1752 - 1834) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดประดิษฐ์ Jacquard’s Loom เป็นเครื่องทอผ้าที่ควบคุมการทอผ้าลายสีต่าง ๆ ด้วยบัตรเจาะรู (Punched – card) จึงเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched – card machine) สำหรับเจาะบัตรที่ควบคุมการทอผ้าขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้โปรแกรมสั่งให้เครื่องทำงานเป็นเครื่องแรก
     ค.ศ. 1822 : ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ มีแนวความคิดสร้างเครื่องหาผลต่าง เรียกว่า Difference Engine โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชสมาคม (Royal Astronomical Society) ของรัฐบาลอังกฤษ สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1832
     จากนั้นในปี ค.ศ. 1833 ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้คิดสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ โดยออกแบบให้ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำเป็นตัวหมุนเฟือง และนำบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูล สามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนแสดงผล ซึ่งจะเป็นบัตรเจาะรูหรือพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่ความคิดของแบบเบจ ไม่สามารถประสบผลสำเร็จเนื่องจากเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่เอื้ออำนวย แบบเบจเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1871 ลูกชายของแบบเบจคือ Henry Prevost Babbage ดำเนินการสร้างต่อมาอีกหลายปีและสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1910
 หลักการของแบบเบจ ถูกนำมาใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน แบบเบจจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
     เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) นักคณิตศาสตร์ผู้ร่วมงานของแบบเบจ เป็นผู้ที่เข้าใจในผลงานและแนวความคิดของแบบเบจ จึงได้เขียนบทความอธิบายเทคนิคของการเขียนโปรแกรม วิธีการใช้เครื่องเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดความเข้าใจในผลงานของแบบเบจได้ดีขึ้น Ada จึงได้รับการยกย่องให้เป็น นักโปรแกรมคนแรกของโลก
     1850 : ยอร์ช บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า Boolean Algebra เพื่อใช้หาข้อเท็จจริงจากเหตุผลต่าง ๆ และแต่งตำราเรื่อง “The Laws of Thoughts” ว่าด้วยเรื่องของการใช้เครื่องหมาย AND, OR, NOT ซึ่งเป็นรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับการพัฒนาทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สวิตช์ปิดหรือเปิด การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลหรือไม่ไหล ตัวเลขจำนวนบวกหรือลบ เป็นต้น โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพีชคณิตจะมีเพียง 2 สถานะคือ จริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งอาจจะแทนจริงด้วย 1 และแทนเท็จด้วย 0

- ยุคต่างๆของคอมพิวเตอร์


      ยุคที่ 1 UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
     ยุคที่ 2 ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง
     ยุคที่ 3    ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงเริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969 
     ยุคที่ 4     ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น
     ยุคที่ 5      เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร  ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing) ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotex สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping ) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือ ความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

-  ประวัติการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย


 
จากเครื่องคอมพิวเตอร์แรก ก็มีวิวัฒนาการ Timeline ในการนำมาใช้ในประเทศไทยต่อมา ตามลำดับดังนี้
    อมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย  ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
         เริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศ  เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ  หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่ง เจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี  โดยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย และเป็นไอบีเอ็มอีกนั่นแหละที่ร่วมบุกเบิกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทำบัญชี เขียนรายงาน นำเสนองาน วาดภาพ และจิปาถะ ก่อนขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กให้เลอโนโวสานต่อ
  • ปี พ.ศ.2507 เดือนมีนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ได้แก่ "เมนเฟรมคอมพิวเตอร์" IBM 1401 ( มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท ) ขนาดพอกับเครื่องถ่ายเอกสารประจำสำนักงาน   ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้งานเก็บบันทึกข้อมูลประชากร การนำมาประมวลผล การสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม  จากเดิมต้องใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงเข้ามาใช้ การรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศสามารถทำเสร็จในเพียง 18 เดือน
  • ปี พ.ศ. 2507 : ได้เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย กับ ธนาคารกรุงเทพ
  • ปี พ.ศ. 2517 : ตลาดหลักทรัพย์ ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน ในด้านการซื้อขายหุ้น โดยใช้ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
  • ปี พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
  • ปี พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : www.chakkham.ac.th/technology/computer/web.htm 
                                 www.chakkham.ac.th/technology/computer/web02.htm
                                www.softbizplus.com/computer/1478-computer-history-thailand