ning

ning

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของ RAM


หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย
ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น 
 DRAM คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Me
Fast Page DRAM ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72 ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)
SDRAM เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด
SDRAM II (DDR)
DDR (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 M
RDRAM
RDRAM หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์
RAM
PC100   SDRAM    ซึ่งทำงานได้ที่ความถี่ 100 MHz
PC133   SDRAM   ซึ่งทำงานได้ที่ความถี่ 133 MHz ซึ่งใช้งานร่วมกับความเร็วของบัสที่ต่ำกว่าคือ 100 MHz ได้
PC2100  DDR  SDRAM มีอัตราความเร็วในการ รับส่งข้อมูล 2.1 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 266 MHz
PC2700  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 2.7  GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 333 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-333
PC3200  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 3.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 400 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-400
PC4200  DDR  SDRAM   มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล 4.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 533 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR-533
PC2-4200  DDR2 SDRAM มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล  4.2 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 533 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR2-533
PC2-5300  DDR2 SDRAM มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล  5.3 GBps ซึ่งทำงานที่ความเร็วบัส 667 MHz รู้จักอีกชื่อคือ DDR2-667
TiP : ถ้าแรมสกปรกให้เอายางลบนุ่มๆ มาขัดตรงขอบสีทองเบาๆ เพื่อให้หน้าสัมผัสของตัวแรมกับหน้าสัมผัสของสล็อตสัมผัสกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น